pAn NTP TeeM



Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โทษของอินเทอร์เน็ต

โทษของอินเทอร์เน็ต
- โทษของอินเทอร์เน็ต มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งประกาศซื้อขาย ของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
- อินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
- มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
- ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- เติบโตเร็วเกินไป
- ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง-กลั่นแกล้งจากเพื่อน
- ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้
- ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
- ขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้ (นั่นจะเป็นเฉพาะการต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Dial up แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะสามารถใช้งานโทรศัพท์ที่ต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย)
- เป็นสถานที่ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร เพื่อก่อเหตุร้าย เช่น การวางระเบิด หรือล่อลวงผู้อื่นไปกระทำชำเรา
- ทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเตอร์เนตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหว

โรคติดอินเทอร์เน็ต


โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต
- รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
- มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้
- รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้
- คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
- ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา
- หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง
- มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย
ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคนๆ นั้นต่อไป


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์


เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่นและข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย
ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ
หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความ
เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่
- Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
- บุคลากรในองค์กร หน่วยงานใดที่ไล่พนักงานออกจากงานอาจสร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงานจนมาก่อปัญหาอาชญากรรมได้เช่นกัน
- Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัย
ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
- Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
- CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
- Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวย
ความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมา
ใช้งานได้ทันที
- Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไป
จู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
- Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
- Malicious scripts จะมีการเขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน อย่างมั่นใจ
หรือว่าไม่เจอปัญหาอะไร อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแฝงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั้นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าตนเองเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นเอง
- Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร
- ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001
พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน
ปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้าง

อ้างอิง: http://blog.eduzones.com/banny/3743

ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล


คำว่าสิ่งแวดล้อม ถ้าให้แต่ละคนนึก บางคนก็อาจจะนึกถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางคนอาจจะนึกถึงน้ำในแม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย น้ำขุ่นข้นด้วยโคลนตมและขยะมากมาย จะใช้อาบหรือใช้ดื่มกินเหมือนแต่ก่อนนั้นไม่ได้ บางคนอาจจะบอกว่า ปัจจุบันดินที่ใช้ปลูกพืชนั้นเสียเพาะปลูกพืชก็ไม่ เจริญเติบโต บางคนอาจจะนึกถึงอากาศที่หายใจในชุมชนที่แออัด ไม่สดชื่นเหมือนในชนบทในที่ที่มีทุ่งนา ป่า เขาโล่งกว้าง ที่มีผู้คนอยู่กันไม่มากนัก เพราะกลิ่นที่ไม่สดชื่นนั้น มีกลิ่นเหม็นของขยะที่มนุษย์นำมากองสุมกันไว้ และยังมีกลิ่นเหม็นจากควันรถยนต์และจักรยานยนต์ นอกจากนั้นก็มีเขม่าและควันไฟจากปล่องของโรงงานอุตสาหกรรมอีกมากมาย เหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา คงยังจำกันได้ถึงน้ำท่วมและลมพายุในภาคใต้ ซึ่งทำให้ผู้คนตลอดจนวัว ควาย สัตว์เลี้ยง ล้มหายตายจากเป็นจำนวนมาก แท่นขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยพลิกคว่ำ และเรือกสวนไร่นาล่มเสียหาย ครั้น พ.ศ. 2533 น้ำไหลบ่ามาท่วมภาคกลางเป็นเวลานาน ทำลายบ้านเรือน ถนนหนทาง สะพาน และพืชผัก ตลอดจนข้าวปลาอาหาร น้ำมากมายมหาศาลนี้มาจากไหน ทำไมจึงเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และลมพายุแรงที่ไม่เคยพบเคยเห็นอีกเล่า หรือเป็นเพราะเราช่วยกันตัดไม้ทำลายป่า และทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษคนละไม้คนละมือ คำตอบก็ถือว่า ป่าไม้ที่หายไป และพิษภัยในสิ่งแวดล้อมเริ่มแสดงผล เป็นปัญหาในวงกว้างเกินกว่าที่เคยคิดกันไว้ ไกลจากตัวเราออกไป กระทบต่อเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมโลก แล้วย้อนกลับมากระทบตัวเราด้วยในที่สุด มนุษย์เราช่วยกันสร้างมลพิษขึ้นมา จนกระทั่งทำลายสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติให้เสียไปใช่หรือไม่ ถ้าใช่ แล้วใครจะเป็นผู้แก้ไขสภาพแวดล้อมที่เสียไป ให้กลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้นได้ คำตอบที่ทำได้และทำง่ายที่สุดก็คือ ทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่วันนี้ จะทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษลดลงได้มากในวันข้างหน้า ถ้าทุกคนเห็นด้วย พร้อมและเต็มใจที่จะช่วยกันลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม จงปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ช่วยกันปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในบริเวณบ้าน โรงเรียน สวนสาธารณะ และ ตามถนนหนทางทั่วไป
2. ทิ้งขยะให้เป็นที่ คือทิ้งลงในถังขยะ ไม่ทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง และจงกำจัดขยะให้ถูก วิธี
3. ใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด อย่าเปิดไฟฟ้าทิ้งไว้ หรือใช้เกินจำเป็นเพราะมีผลกระทบต่อการ ผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับบางประการมาสู่สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้เช่นกัน
4. เลือกใช้ของอย่างประหยัด เพราะนอกจากต้องซื้อหามาแล้ว ในการผลิตยังใช้พลังงาน อีกไม่น้อย เมื่อทิ้งขว้างก็กลายเป็นของเสีย เกิดพิษภัยต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงควรคิดให้รอบคอบเสียก่อนทุกคราวไป ดังนั้นขวดแก้วใส่น้ำหวานได้หลายต่อหลายครั้งจึงดีกว่ากระป๋อง เพราะเราทิ้งกระป๋องเป็นขยะทุกครั้ง แต่เราเอาขวดมาล้างแล้วใช้ใหม่ได้
5. ชักชวนกันใช้ของธรรมชาติ เช่น ใบตอง ดีกว่าของทำเทียมขึ้นมา ซึ่งได้แก่ ถุง พลาสติก กล่องโฟมเก็บความร้อนหรือความเย็น เพราะช่วยลดภัยในสิ่งแวดล้อมในระหว่างการผลิตและเมื่อทิ้งเป็นขยะ
6. ควบคุมการผลิตและการใช้สารมลพิษซึ่งมีผลกว้างไกล เช่น น้ำยาบางชนิดในเครื่องทำ ความเย็น น้ำยาดับเพลิงแบบใหม่ (ฮาลอน) เป็นต้น
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเราที่มีปริมาณมากมายมหาศาลสุดที่จะนับได้ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ พืช สัตว์ คน และสารต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่มนุษย์มองไม่เห็น แต่ก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ได้แก่ พลังงานต่าง ๆ เช่น พลังงานความร้อน แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น
เมื่อกล่าวถึงสิ่งแวดล้อมเสียหรือเป็นพิษ หมายความว่า สภาพของสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนเกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินที่กล่าวกันว่า ดินเสีย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ และแสง เสียงเป็นพิษ
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์นั้นเอง เป็นต้นว่า
1. มนุษย์ตัดไม้ทำลายป่ากันมากขึ้น
2. มนุษย์เผาเชื้อเพลิงตามบ้านเรือน และตามโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
3. มนุษย์ผลิตสารสังเคราะห์บางอย่างที่ไม่สลายตัว และสลายตัวยากมากขึ้น เช่น พลาสติก โฟม จึงทำให้เกิดขยะเหล่านี้มากขึ้น ส่วนสารบางอย่างที่เป็นก๊าซ เช่น ฟรีออน ซึ่งใช้ช่วยในการฉีดสเปรย์ และใช้ในเครื่องทำความเย็น ก็จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศฟุ้งกระจายทั่วไป ซึ่งจะไปทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ และมีผลกระทบทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
4. มนุษย์สร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนวัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติ เช่น ใช้ ไฟเบอร์กลาสแทนไม้ ใช้ฟรีออนแทนแอมโมเนียเหลวในตู้เย็น และใช้ผงซักฟอกแทนสบู่ เป็นต้น เมื่อใช้แล้วมีสิ่งตกค้างเป็นมลพิษอยู่ในอากาศ ในน้ำ และในดิน ทำให้เกิดผลเสียหายต่อพืช สัตว์และมนุษย์ด้วยกันเองในที่สุด
5. มนุษย์สร้างอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดที่ให้ความร้อน แสง เสียง ที่ทำให้เกิด อันตรายต่อมนุษย์ได้มากขึ้น
6. มนุษย์สร้างยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง เช่น จักรยานยนต์ รถยนต์ และยานอวกาศ เพื่อออกไปสำรวจอวกาศภายนอกโลกมากขึ้น ก๊าซที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ได้แก่ ออกไซด์ของไนโตรเจนและคาร์บอนจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอากาศ
สารมลพิษ หมายถึงสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในดิน ในน้ำ และในอากาศ มีปริมาณมากกว่าปกติ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์ พืชและสัตว์ ถ้าแยกประเภทสารมลพิษออกตามสถานะจะมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
1. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะก๊าซ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจน และคลอรีน เป็นต้น
2. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของเหลว เช่น ละอองน้ำกรดต่าง ๆ ของธาตุกำมะถัน ไนโตรเจนที่ละลายอยู่ในน้ำฝน หรือละลายอยู่ในน้ำใต้ดิน หรืออยู่ในน้ำเสียจากน้ำทิ้งตามบ้านเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลองก็จะทำให้น้ำเสีย ทำให้พืชและสัตว์น้ำบางชนิดตายและสูญพันธุ์
3. สารมลพิษที่อยู่ในสถานะของแข็ง เช่น เขม่า ควัน สารสังเคราะห์บางอย่างที่ใช้แล้ว สลายตัวยาก เช่น ถุงพลาสติก โฟม และไฟเบอร์ เป็นต้น ทำให้มีขยะปะปนอยู่ในน้ำและในดินอยู่ทั่วไป

สภาวะที่เป็นพิษและที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
1. อากาศที่หายใจไม่บริสุทธิ์ มีเขม่า ควัน ปะปนมา ตลอดจนมีกลิ่นเหม็น และมีก๊าซที่ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจของมนุษย์
2. น้ำท่วมไร่นา บ้านเรือน ถนน เสียหายโดยฉับพลัน
3. น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้น้ำทะเลมีระดับสูง และไหลเข้ามาปนกับน้ำจืดใน แม่น้ำลำคลองมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนและพืชที่ปลูกไว้ริมน้ำ
4. ฝนเป็นกรด ทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหาร ทำลายดิน ทำให้ปลูกพืชไม่งอกงาม
5. โลกจะร้อนขึ้น
6. ฤดูกาลจะแปรปรวน
7. ชั้นโอโซนถูกทำลาย และไม่ช่วยกรองรังสีอันตราย ทำให้ตาเป็นต้อ และผิวหนังเป็น มะเร็ง
การเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม
1. มลพิษที่เป็นก๊าซ ของเหลว และของแข็ง จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติ จากการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิง จากการตัดไม้ทำลายป่า และจากการปนเปื้อนแทรกซึมของสารสังเคราะห์บางชนิดที่มนุษย์เราผลิตใช้กันมากขึ้น
2. มลพิษที่เป็นพลังงาน เช่น พลังงานความร้อนที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องมาจาก
การตัดไม้ทำลายป่า การทำลายโอโซนในบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกไว้ การสร้างยานพาหนะที่มีการเผาไหม้สูง หรือมีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ส่วนมลพิษที่เป็นพลังงานชนิดอื่น เช่น แสง เสียง และแม่เหล็กไฟฟ้านั้น ก็เกิดจากการที่มนุษย์ผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ไปทำลายประสาทหู ตา และประสาทสัมผัสอื่นของมนุษย์มากขึ้น

การควบคุมและการป้องกันแก้ไขปัญหามลพิษ
เมื่อทราบสาเหตุ และการเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อมแล้ว เราก็จะสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าทุกคนทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกัน เช่น
1. ช่วยกันปลูกต้นไม้ให้มากขึ้น ไม่ตัดไม้ ทำลายป่าโดยไม่จำเป็น
2. ดูแลรถยนต์ไม่ให้มีควันดำ และหมั่นปรับเครื่องยนต์เสมอ 3. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพราะมีส่วนช่วยลดเขม่าควัน ก๊าซไอเสียต่าง ๆ ตลอดจนกรด จึงช่วยป้องกันและลดฝนกรด ตลอดจนลดก๊าซซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น
4. เลือกใช้ของอย่างประหยัด โดยคิดถึงประโยชน์ระยะยาว หากใช้ได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ย่อมดีกว่าใช้แล้วทิ้งทุกครั้ง เช่น ขวดแก้วใช้ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่กระป๋องใช้ได้ครั้งเดียว จึงต้องใช้พลังงานผลิตอยู่ร่ำไป
5. ใช้วัสดุธรรมชาติเช่น ใบตอง ดีกว่าวัสดุสังเคราะห์ซึ่งได้แก่ ถุงพลาสติก กล่องโฟม เก็บรักษาความร้อนหรือความเย็น
นอกจากนี้อาจจะมีวิธีอื่น ๆ อีกที่สามารถแก้ไข ควบคุม และป้องกันภาวะมลพิษ และ สารมลพิษได้ หากเราทราบสาเหตุ ตัวต้นเหตุ และการเกิดที่แน่นอนและชัดเจน
ดวงอาทิตย์ศูนย์กลางของระบบสุริยจักรวาลเป็นต้นกำเนิดของพลังงานอันมหาศาล ได้ส่งรังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามายังโลกของเรา แต่เนื่องจากมีบรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้น และมีองค์ประกอบต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเมฆและไอน้ำ รังสีดวงอาทิตย์ (solar radiation) ประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่จะผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นผิวโลกได้
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นร้อยละ 95-99 ซึ่งได้แก่ รังสีคอสมิก รังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ ส่วนรังสีคลื่นยาวได้แก่ คลื่นวิทยุ รังสีที่อยู่ในช่วงคลื่นสั้นเป็นรังสีที่มองเห็นได้ (visible rays) ร้อยละ 45 รังสีอินฟราเรด (infrared) ร้อยละ 46 และรังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) ร้อยละ 9
การที่บรรยากาศห่อหุ้มโลกอยู่หลายชั้นนั้น มีประโยชน์ต่อการดำรงชีพของสิ่งที่มีชีวิตเป็นอันมาก เช่น บรรยากาศชั้นบน ช่วยกรองรังสีหลายอย่างที่เป็นอันตราย เช่น รังสีเอกซ์ และรังสีอัลตราไวโอเลต ส่วนบรรยากาศชั้นล่างจะดูดซึมรังสีอินฟราเรดซึ่งโลกสะท้อนกลับ นอกจากนั้นยังช่วยเก็บรักษาความร้อนที่ผิวโลกไว้ ไม่เช่นนั้นอากาศที่ผิวโลกจะเยือกเย็นถึง -40o ซ. โดยเฉลี่ยแทนที่จะเป็น 15o ซ. ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
เมื่อโลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ โลกจะแผ่รังสีสะท้อนกลับสู่บรรยากาศเรียกว่า รังสีโลก (terrestrial radiation) ความยาวคลื่นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ อุณหภูมิเฉลี่ยบนผิวโลก 150 ซ. รังสีจากโลกเป็นรังสีอินฟราเรดในช่วงคลื่นยาว ซึ่งแตกต่างจากรังสีอินฟราเรดจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นช่วงคลื่นสั้น ตามปกติแล้ว ไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศจะมีปริมาณพอเหมาะและสามารถดูดซึมพลังงานส่วนนี้ไว้ ทำให้โลกเก็บความร้อนไว้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของคน สัตว์ และพืช
สารมลพิษและบทบาทต่อความร้อนของโลก
สารมลพิษส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นล่างคือ ชั้นโทรโพสเฟียร์ เช่น มีเทน (CH4) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons) และโอโซน เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและถือเป็นสารมลพิษ โดยทั่วไปไม่ควรนำไปปะปนกับก๊าซโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ เพราะบรรยากาศในสองชั้นนี้มักไม่ใคร่ผสมปนเปกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีชั้นโทรโพพอสคั่นอยู่ สารมลพิษอื่น ๆ ก็เช่นกัน มักไม่ใคร่มีโอกาสขึ้นไปสูงถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ ยกเว้นแต่เมื่อ


ก. เกิดลมพายุรุนแรงในบรรยากาศชั้นบน
ข. เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยากับสารมลพิษอื่น ๆ ได้ง่าย จึงคงตัวอยู่นานและลอยขึ้นสูงเป็นลำดับ เช่น คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ไนทรัสออกไซด์ (N2O) เป็นต้น
ค. เกิดมลพิษในชั้นสตราโทสเฟียร์ เช่น เครื่องบินคอนคอร์ดของอังกฤษและฝรั่งเศส และเครื่องบิน Tu-144 ของสหภาพโซเวียต มีเพดานบินอยู่ที่ระดับความสูง 17 กิโลเมตร โบอิ้ง 2707 ของสหรัฐอเมริกามีเพดานบินที่ระดับ 20 กิโลเมตร เป็นต้น จึงเกิดออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรเจนออกไซด์ ฯลฯ
เมื่อมีก๊าซไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) และโอโซน (O3) ในบรรยากาศชั้นสูง อาจมีปฏิกิริยาจนเกิดไนทรัสออกไซด์ (N2O) ก๊าซนี้สามารถเก็บกักความร้อนไว้ได้เช่นเดียวกันกับมีเทนและก๊าซอื่น ๆ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป
สารมลพิษบางชนิดทำให้โลกร้อนขึ้น แต่มีบทบาทแตกต่างกัน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ทำลายโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์ จึงทำให้โลกรับพลังงานความร้อนโดยตรง จากดวงอาทิตย์มากขึ้น
2. มีมลพิษในบรรยากาศชั้นล่างที่หุ้มห่อผิวโลกมากขึ้นกว่าปกติ สารมลพิษเหล่านี้
จะเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อนไว้มากกว่าปกติเช่นกัน
การทำลายโอโซนในชั้นสตราโทสเฟียร์
โอโซนถูกทำลายได้ด้วยสารประกอบ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คลอรีน ออกไซด์ของไฮโดรเจน และออกไซด์ของไนโตรเจน
สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนเป็นสารประกอบของคาร์บอน ฟลูออไรด์ และคลอรีน คาร์บอน เตตระคลอไรด์ (CCl4) คลอโรฟอร์ม (CHCL3) และเมธิลคลอโรฟอร์ม (CHCl3) ก็มีคลอรีนเช่นกัน สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือที่เรียกว่าฟรีออน ส่วนใหญ่ใช้ในเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ นอกจากนั้นยังใช้เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องฉีดสเปรย์ต่าง ๆ ใช้เป็นสารทำความสะอาดชั้นดี หรือใช้สารนั้นเป่าให้เกิดฟองในเนื้อของโฟมที่ใช้ทำกล่องบรรจุอาหารต่าง ๆ เป็นต้น
เมื่อก๊าซเฉื่อยกลุ่มนี้ลอยขึ้นไปถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ รังสีอัลตราไวโอเลตจะทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้น อะตอมคลอรีนแตกตัวออกมา จากนั้นอะตอมนี้จึงทำปฏิกิริยากับโอโซนจนเกิดคลอรีนมอนอกไซด์ (chlorinemonoxide, ClO) หากแต่มิได้หยุดยั้งเพียงแค่นั้นกลับปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนอื่นจนเกิดก๊าซนี้ขึ้นคงเหลืออะตอมคลอรีนไว้ให้ใช้ตั้งต้นใหม่และทำงานต่อไปอีกนับหมื่นครั้ง ประกอบกับเป็นสารซึ่งมีอายุอยู่ในบรรยากาศได้ 75-110 ปี จึงทำลายก๊าซโอโซนได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันนาน ดังที่ได้พบหลักฐานของการทำลายชั้นโอโซนนี้ที่บริเวณขั้วโลกได้ ช่องว่างในชั้นโอโซน (ozone holes) ขยายตัวกว้างขึ้นทุกปี พร้อมกับตรวจพบคลอรีนมอนอกไซด์
ออกไซด์ของไฮโดรเจน และออกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งเป็นตัวทำลายโอโซนนั้น อาจเกิดได้ในธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ใบไม้ ซากพืชและสัตว์ย่อมเน่าเปื่อยและผุพังไปตามธรรมชาติ ทำให้เกิดก๊าซมีเทน และก๊าซไนทรัสออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นต้น นอกจากนี้ก๊าซมีเทนยังกลายเป็นออกไซด์ของไฮโดรเจนต่อไปได้ ก๊าซเหล่านี้ทำลายชั้นโอโซนทั้งสิ้น หากสามารถขึ้นถึงชั้นสตราโทสเฟียร์ได้


มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน
โลกสะท้อนพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกสู่บรรยากาศในรูปของรังสีอินฟราเรด (คลื่นยาว) ตามปกติไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่อย่างใกล้ชิด จะดูดซึมรังสีโลกไว้
การเก็บกักความร้อนของโลกไว้นี้เปรียบเทียบได้กับ ปรากฎการณ์ในเรือนต้นไม้ ของประเทศทางตะวันตก (green house effect) ซึ่งเป็นอาคารที่กรุด้วยกระจกและเก็บงำความอบอุ่นไว้ให้เพียงพอแก่การปลูกพืชในฤดูหนาว เพราะแสงแดดสามารถส่องผ่านกระจกให้พืชเจริญเติบโตได้เมื่อเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำที่พืชคายออกมาจากการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ถูกกักเก็บไว้ในเรือน จึงทำให้ความร้อนในอาคารนี้สูงกว่าภายนอก
แต่การตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนการเร่งรัดใช้พลังงานอย่างกว้างขวางในการพัฒนาประเทศทำให้เกิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดหรือมีสารมลพิษต่าง ๆ เช่น โอโซน มีเทน ไนทรัสออกไซด์ แอมโมเนีย และฟรีออน ก๊าซเหล่านี้ต่างก็มีคุณสมบัติในการดูดซึมรังสีคล้ายกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงรวมเรียกว่า ก๊าซเรือนต้นไม้ (green house gases)
ความร้อนที่เก็บกักเอาไว้เป็นผลมาจากไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และเมฆถึงร้อยละ 90 คงเหลือประมาณร้อยละ 10 เป็นส่วนของความร้อนที่เก็บกักโดยก๊าซโอโซน มีเทน และ ไนทรัสออกไซด์เป็นหลัก
ผลกระทบเมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย
เมื่อก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ถูกทำลาย จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเนื่อง 2 กรณี คือ
1. พลังงานความร้อนบนพื้นโลกมากขึ้น
2. รังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงคลื่นซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตผ่านลงมาถึงพื้นโลกมากขึ้น
จากกรณีทั้งสองดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศได้หลายอย่าง เช่น
1. ความร้อนอาจจะทำให้น้ำแข็งในบริเวณขั้วโลกได้ละลายมากขึ้น
2. ความร้อนจะทำให้น้ำในมหาสมุทรขยายตัว ทำให้เกิดความแปรปรวนทางน้ำ
3. จากการรับรังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มขึ้นจึงทำให้พืชชั้นต่ำ เช่น แพลงก์ตอน สาหร่าย ไดอะตอม ยูกลีนอยด์เกิดการกลายพันธุ์ (mutation) ได้ ส่วนใบพืชชั้นสูงจะมีการสังเคราะห์แสงลดลง เพราะเซลล์คลุมรอบปากใบ (guard cell) ได้รับอันตรายจากแสง จะปิดปากใบจนวัตถุดิบไม่สามารถผ่านเข้าไปในใบได้เช่นเดิม จึงเป็นเหตุทำให้การสังเคราะห์แสงลดลง
4. รังสีอัลตราไวโอเลต จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ในสัตว์ หรือเกิดโรคมะเร็งขึ้นที่เปลือก ตาและอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น แกะและม้า ถึงแม้จะมีขนห่อหุ้มร่างกายซึ่งจะช่วยลดอันตรายลงได้ก็ตามแต่ในอวัยวะซึ่งขาดเม็ดสี (melanin) เช่น เปลือกตาและอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตต่อเนื่องในระยะยาวก็อาจทำให้ตาเปื่อย หรือเกิดโรคมะเร็งที่ตาและอวัยวะสืบพันธุ์ได้
5. สำหรับมนุษย์นั้น ได้ใช้รังสีอัตราไวโอเลตเมื่ออยู่พอควรในการเปลี่ยนสารที่ผิวหนังให้ เป็นวิตามินดีสาม ซึ่งป้องกันโรคกระดูกอ่อนและฟันผุ แต่ถ้าได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมากไป เช่น ผู้ที่อาบแดดเป็นประจำ หรือชาวไร่ชาวนาที่ต้องตากแดดเป็นประจำ จะทำให้มีผิวกร้านหนาเพราะเซลล์แบ่งแยกตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนั้นผิวจะมีรอยย่นสีคล้ำหรือจาง ทำให้ดูแก่เกินวัยและในที่สุดอาจเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง คนผิวคล้ำเช่นชาวเอเซีย และชาวแอฟริกามีเม็ดสีอยู่ในผิวมากสามารถสะท้อนและดูดซึมรังสีส่วนเกินได้ดีกว่าคนผิวขาว ดังนั้นจึงเกิดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตต่อคนผิวขาวมากกว่าคนผิวคล้ำ
สำหรับดวงตาที่รับแสงแดดกล้าเกินไปในระยะยาว จะเกิดเนื้อติ่งที่หัวตา และเป็นมะเร็งที่เยื่อบุชั้นนอกของนัยน์ตาหรือเป็นต้อกระจกได้
ผลกระทบต่อโลกเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme-UNEP) ได้รายงานเกี่ยวกับปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศดังนี้
• ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 270-290 ส่วนในล้านส่วน
• ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 345-350 ส่วนในล้านส่วน
• ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 คาดว่าปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้วิเคราะห์และคาดว่าในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2537) อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 1.5-3o ซ. และจะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางดังต่อไปนี้
1. ระดับน้ำทะเลอาจจะขึ้นสูงอีก 40-120 เซนติเมตร ซึ่งจะมีผลต่อพื้นที่ชายทะเล และ กิจกรรมต่าง ๆ ในบริเวณนั้น เช่น การเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ในป่าชายเลน การท่องเที่ยว เป็นต้น ในระหว่างที่โลกมีวิวัฒนาการ น้ำทะเลเคยขึ้นลงเกินกว่า 100 เมตรมาแล้ว และในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นประมาณ 8-20 เซนติเมตร เชื่อกันว่าเป็นผลจากที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นในบรรยากาศถึงอัตราร้อยละ 20 และการที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เพราะน้ำทะเลขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน และน้ำแข็งในแถบขั้วโลกละลายเป็นน้ำ การที่น้ำเค็มรุกล้าเข้าสู่แม่น้ำลำคลอง น้ำใต้ดิน และแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ มากขึ้น ย่อมมีผลทำให้ระบบนิเวศปรวนแปร และอาจทำให้เกิดความเสียหายได้หลายประการ
2. ทำให้ภูมิอากาศเกิดความปรวนแปร จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า พายุไซโคลนซึ่งเคย เกิดขึ้น 3.1 ครั้ง ในคาบ 10 ปี คือ ตั้งแต่ ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) และได้เพิ่มเป็น 15 ครั้งในปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ดังนั้นจึงเกรงว่าถ้าอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น จะทำให้ลมมรสุมในคาบสมุทร >เอเซียแปซิฟิกเพิ่มกำลังแรงมากขึ้น และจะพัดเลยขึ้นเหนือไป ทำให้ฝนไปตกในท้องถิ่นกันดาร และในทางตรงกันข้ามจะทำให้เกิดความแห้งแล้งในที่ที่มีฝนตกชุก ตลอดจนจะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันขึ้นในบางแห่ง บางแห่งจะเกิดปัญหาน้ำเซาะดินพังทลายลง และตะกอนซึ่งมากับน้ำขุ่นตามทางน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำตื้นเขินด้วย
3. แหล่งน้ำใช้ในการชลประทานจะผันแปรไปด้วย จากการคาดคะเนหากว่าอุณหภูมิของ โลกเพิ่ม 1.5-4.50 ซ. ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7-15 ทั่วโลก แต่มิได้กระจายไปทุกแห่งอย่างทั่วถึง ในแหล่งที่มีน้ำมากและที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นนั้น พืชก็อาจจะเร่งการสังเคราะห์แสงขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้น้ำมากขึ้นเป็นเงาตามตัวและจำเป็นต้องมีการจัดสรรน้ำเพื่อการชลประทานเป็นพิเศษกว่าเดิมด้วย
4. ต้องพัฒนาและปรับปรุงการเกษตรกรรม ให้เหมาะสมกับกับการเปลี่ยนแปลงทาง สภาพภูมิอากาศ และน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งอาจจะต้องแสวงหาพืชพันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนการเพาะปลูกและการจำหน่ายที่มีคุณภาพ มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในสภาวะปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
5. แหล่งพลังงานได้รับผลกระทบ เนื่องจากการแปรปรวนของภูมิอากาศ เช่น การเกิดลม มรสุมต่าง ๆ อย่างรุนแรง เคยทำให้เรือขุดเจาะน้ำมันคว่ำ เกิดการเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนขัดขวางการแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ พลังลม และพลังนิวเคลียร์ ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนทางภูมิอากาศด้วยเช่นกัน
การควบคุมมลพิษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น
การควบคุมมลพิษที่ทำให้โลกร้อนขึ้น อาจทำได้ดังนี้
1. ควบคุมการใช้เชื้อเพลิง เพื่อลดสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของคาร์บอน
ไนโตรเจน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงใช้ตามบ้านเรือน ใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าหรือใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ตาม
2. ลดการผลิตสารสังเคราะห์บางตัว พร้อมทั้งหาสารทดแทนตัวอื่น เช่น ในการประชุมที่ กรุงเวียนนา ได้มีข้อตกลงที่จะควบคุมการผลิตและการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนทั่วโลก เพราะสารนี้จะไม่สลายก๊าซโอโซน มีผลทำให้โลกร้อนขึ้น
3. รณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงานไฟฟ้า เพื่อจะได้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า และใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น เพื่อลดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม
4. รณรงค์ให้มีการปลูกป่าทดแทน และไม่ตัดไม้ทำลายป่าตามธรรมชาติ เพราะต้นไม้ใน ป่ามีบทบาทสำคัญยิ่งในการลดมลพิษ เนื่องจากพืชช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดไม้ทำลายป่าจึงบั่นทอนความสามารถในการลดมลพิษของธรรมชาติ และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศได้ต่อเนื่องอีกนานัปการ
อ้างอิง: http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/en-sakol/sakoln.htm

สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย

สถานที่ท่องเที่ยวของประเทศไทย

ปราสาทหินพนมรุ้ง
ในหนึ่งปีจะมีเพียง 4 วัน เท่านั้นที่ ปราสาทหินพนมรุ้งจะมีตะวันขึ้น หรือตก ตรงลอดช่องประตูทั้ง 15 ช่อง ได้ตรงอย่างน่าพิศวง ปรากฏการณ์แบบนี้ชีวิตหนึ่งต้องไปดู
ภูมิปัญญาของคนโบราณนั้นน่าทึ่ง นอกจากสถาปัตยกรรม ของปราสาทหินพนมรุ้งอันยิ่งใหญ่และงดงามแล้ว ใคร เลยจะรู้ว่า มีวันเวลาที่เขาคำนวณได้อย่างน่าพิศวง ตรงที่ ในฤดูกาลต่างกัน เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น จะส่องแสงลอดช่อง ตรงกรอบประตูทั้ง 15 บาน ที่เรียงกันได้อย่างเหลือเชื่อ
ในเดือนเมษายนและกันยายน และ จะเห็นมหัศจรรย์พระอาทิตย์ ตกลอดช่องกรอบประตูในเดอื นมีนาคมและเดอื นตุลาคม ในหนึ่งปีจะมีเพียง 4 วัน เท่านั้นที่ ปราสาทหินพนมรุ้งจะมีตะวันขึ้น หรือตก ตรงลอดช่องประตูทั้ง 15 ช่อง ได้ตรงอย่างน่าพิศวง ปรากฏการณ์แบบนี้ชีวิตหนึ่งต้องไปดู




ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: ราว 06.00 น.
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: วันพระอาทิตย์ขึ้นตรงกรอบประตูในฤดูร้อน
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: ด้านหน้ากรอบประตูด้านทิศตะวันตก

แหล่งเตาโบราณ
ในบริเวณอำเภอบ้านกรวด ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปตามทางหลวงหมายเลข 2075 ประมาณ 66 กิโลเมตร นักโบราณคดีได้สำรวจพบเตาเผา และเครื่องปั้นดินเผาโบราณจำนวนมาก เตาโบราณเหล่านี้มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-19 เป็นแหล่งผลิตเครื่องถ้วยขอม เพื่อเป็นสินค้าป้อนให้กับเมืองต่างๆ โดยมีการทำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และขยายขอบเขตการผลิตไปยังพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งเตาโบราณ 2 แห่ง คือ เตาสวายและเตานายเจียน ซึ่งอยู่ห่างจากอำเภอบ้านกรวดเป็นระยะทาง 5 และ 10 กิโลเมตร ตามลำดับ ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบสามารถชมได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์หรือที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แหล่งหินตัด
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด ติดแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ห่างจากตัวอำเภอบ้านกรวด 7 กิโลเมตร บนเส้นทางบ้านกรวด - ตาพระยา และแยกจากถนนใหญ่ไปอีก 3 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสายเป็นแหล่งหินทรายที่คนสมัยขอม ตัดหินเอาไปสร้างปราสาทต่างๆ ในเขตอีสานใต้ อยู่บริเวณเขากลอยและเขากระเจียว มีเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ ที่น่าสนใจคือ หินบางก้อนปรากฏรอยตอกเนื้อหินให้เป็นรูเรียงกันเป็นแนวยาว หินบางก้อนถูกเซาะสกัดเป็นร่องขาดจากกัน และยังมีหินที่ถูกตัดและงัดขึ้นมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมอยู่ทั่วไป
เขื่อนลำนางรอง
ตั้งอยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ เขื่อนลำนางรองเป็นเขื่อนดิน มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนสำหรับชมทัศนียภาพ และมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ นอกจากเขื่อนนี้จะเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรแล้ว ยังได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสำนักงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อนในเวลาราชการ โทร. 0 4460 6336 ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ

ศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้
ตั้งอยู่ภายในสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ถนนจิระ เป็นสถานที่รวบรวมจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุอันมีค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจและเป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัย นิทรรศการที่จัดแสดงมีหลากหลายหัวข้อ อาทิ นิทรรศการเกี่ยวกับช้าง ชาวส่วยผ้าพื้นเมือง จิตรกรรมฝาผนัง เครื่องถ้วยและเตาเผาโบราณ วิถีชีวิตชาวอีสาน สภาพภูมิศาสตร์ชุมชนโบราณของบุรีรัมย์ เปิดทุกวันยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 8.30 - 19.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เปิดถึงเวลา 16.00 น. สอบถามรายละเอียด โทร. 0 4561 1211, 0 4561 7588 ต่อ 159

ชมเมเปิ้ลเปลี่ยนสีที่ภูกระดึง
เมเปิ้ลเปลี่ยนสีอาจมีอยู่หลายแห่งในเมืองไทย แต่จะ หาที่ไหนสวยงามไปกว่าเมเปิ้ลในป่าปิดของภูกระดึงนั้นไม่มี ที่นี่จึงเป็นที่สุดแห่งความงาม
อาณาเขตป่าปิดด้านทิศเหนือบนภูกระดึง นอกจากเป็นเขตป่าอนุรักษ์แล้ว ยังเป็นที่รวมของลำธารเล็กๆ หลายสายซึ่งไหลผ่านผืนป่าแห่งนี้ ก่อเกิดเป็นน้ำตกน้อยใหญ่สวยงามหลายแห่ง และตามริมลำธารเหล่านี้เองที่เป็นถิ่นของเมเปิ้ลที่ทุกฤดูหนาว จะพากันเปลี่ยนสีของใบเป็นสีแดงสด บ้างก็ร่วงหล่นลงสู่พื้นดินเป็นภาพที่งดงามที่สุด โดยเฉพาะเมเปิ้ลต้นที่อยู่หน้าน้ำตก ขุนพอง ซึ่งต้องขออนุญาตก่อนเข้าไปเที่ยวชม




ชมเมเปิ้ลเปลี่ยนสีที่ภูกระดึง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: ช่วงเวลาเช้าราว 08.00 - 10.00 น.
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: เดือนธันวาคม
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: บริเวณน้ำตกถ้ำใหญ่ น้ำตกผาน้ำผ่า น้ำตกขุนพอง

เปราะภูในสายหมอกที่แปกดำ ภูหลวง
มนต์ขลังของฤดูฝนบนภูหลวงนั้นคือ สายหมอก ฉ่ำเย็น นี่เป็นวันเวลาของดอกเปราะภูสีชมพู ซึ่งจะ พากันบานสะพรั่งทั้งผืนป่า
ล่วงถึงต้นฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน บนภูหลวง จ.เลยนั่นคือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของดอกไม้ต้นฤดูฝนซึ่งพากันผลิ ดอกสวยงามขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น โคกนกกระบาและลานสุริยัน แต่ไกลออกไปในป่าสนบริเวณที่เรียกว่า แปกดำ เดินเท้าถึงได้ในเวลาชั่วโมงเศษๆ
ที่นั่นดอกเปราะภูสีชมพู (Caulokaempferia violacea) สวยสดกำลังพากัน ออกดอกสะพรั่งทั้งผืนป่า มีเวลาสวยที่สุดอยู่แค่เดือนเดียว พลาดปีนี้ ต้องรออีกปีหนึ่งถึงจะมีโอกาสอีกครั้ง


เปราะภูในสายหมอกที่แปกดำ ภูหลวง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: เวลาที่มีหมอกลงส่วนมากเป็นช่วงเช้า
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: ป่าสนบริเวณที่เรียกว่า แปกดี

พระธาตุศรีสองรัก
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐาน คล้ายพระธาตุพนม สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 การสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้นนี้เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) องค์พระธาตุสูงประมาณ 30 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย

น้ำตกปลาบ่า หรือน้ำตกตาดสาน
อยู่ที่หมู่ 1 บ้านปลาบ่า ตำบลปลาบ่า เป็นน้ำตกที่ตกมาจากแผ่นหินขนาดใหญ่อย่างสวยงามลงสู่แอ่งน้ำ เบื้องล่างเหมาะสำหรับเล่นน้ำและนั่งพักผ่อนรับประทานอาหาร บริเวณน้ำตกยังไม่มีร้านอาหาร
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 203 (ภูเรือ - ด่านซ้าย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57 - 58 เลี้ยวซ้ายตรงสถานีทดลองเกษตรที่สูง-ภูเรือ (บ้านกกโพธิ์) เข้าไปตามทางราดยาง 6.7 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านปลาบ่า จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก รวมระยะทางจากอำเภอภูเรือถึงน้ำตก 18 กิโลเมตร นักท่องเที่ยว ที่จะไปเที่ยวน้ำตกปลาบ่าควรใช้รถตู้หรือรถกระบะ

ช่วงเวลาที่ดีที่สุด: เวลาที่มีหมอกลงส่วนมากเป็นช่วงเช้า
ฤดูกาลที่ดีที่สุด: กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
จุดชมวิวที่ดีที่สุด: ป่าสนบริเวณที่เรียกว่า แปกดำ

พระธาตุศรีสองรัก
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร จากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร พระธาตุศรีสองรักมีรูปทรงสัณฐาน คล้ายพระธาตุพนม สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2103 การสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้นนี้เพื่อเป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระหว่างกรุงศรีอยุธยาและกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) องค์พระธาตุสูงประมาณ 30 เมตร ฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีงานนมัสการใหญ่โตทุกปีในช่วงเดือน 6 มีประชาชนเคารพนับถือมาก นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปะธิเบตด้วย

น้ำตกปลาบ่า หรือน้ำตกตาดสาน
อยู่ที่หมู่ 1 บ้านปลาบ่า ตำบลปลาบ่า เป็นน้ำตกที่ตกมาจากแผ่นหินขนาดใหญ่อย่างสวยงามลงสู่แอ่งน้ำ เบื้องล่างเหมาะสำหรับเล่นน้ำและนั่งพักผ่อนรับประทานอาหาร บริเวณน้ำตกยังไม่มีร้านอาหาร
การเดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 203 (ภูเรือ - ด่านซ้าย) บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 57 - 58 เลี้ยวซ้ายตรงสถานีทดลองเกษตรที่สูง-ภูเรือ (บ้านกกโพธิ์) เข้าไปตามทางราดยาง 6.7 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านปลาบ่า จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางลูกรังอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงน้ำตก รวมระยะทางจากอำเภอภูเรือถึงน้ำตก 18 กิโลเมตร นักท่องเที่ยว ที่จะไปเที่ยวน้ำตกปลาบ่าควรใช้รถตู้หรือรถกระบะ

พระธาตุสัจจะ
ตั้งอยู่บริเวณวัดลาดปู่ บ้านท่าลี่ ตำบลท่าลี่ ไปตามทางหลวงหมายเลข 201 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2115 สายท่าลี่ - อาฮี ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าลี่ประมาณ 2 กิโลเมตร องค์ประกอบของพระธาตุสัจจะ ประกอบด้วยดอกบัวบานมีกลีบ 3 ชั้น สูงประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่รอบองค์พระธาตุสัจจะองค์พระธาตุสูง 33 เมตร มีสัญลักษณ์คล้ายคลึงกับพระธาตุพนม มีเศวตฉัตร 7 ชั้น ประดิษฐานไว้ บนยอดสุดของพระธาตุสัจจะ

น้ำตกแก่งสองคน
อยู่ที่บ้านหัวนายูง ตำบลด่านซ้าย เดินทางใช้เส้นทางหมายเลข 2013 (ด่านซ้าย - นครไทย) อยู่เลยพระธาตุศรีสองรักไปราว 400 เมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปตามทางลูกรังอีก 2 กิโลเมตร จากนั้นต้องเดินเท้าเข้าไปอีกเล็กน้อยก็จะถึงน้ำตก ลักษณะของน้ำตก เป็นธารน้ำกว้างไหลผ่านก้อนหินใหญ่น้อยมากมายลดหลั่นกันลงมาอย่างน่าชม ท่ามกลางต้นไม้ใหญ่เขียวครึ้มทั่วบริเวณ เหมาะสำหรับนั่งพักผ่อนเป็นอย่างยิ่ง

น้ำตกตาดหมี
เป็นน้ำตกที่กั้นลำน้ำหู ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูขาด อยู่ในพื้นที่ของตำบลนาพึง การเดินทางจากอำเภอถึงบริเวณน้ำตก โดยทางสายนาแห้ว-ด่านซ้าย ถึงทางแยกบ้านเกลี้ยงเป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร จากบ้านเกลี้ยงเข้าไปถึงน้ำตก เป็นทางเดินเท้าประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที น้ำตกตาดหมีเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก มีน้ำตลอดทั้งปี มีความสูงประมาณ 30 เมตร นอกจากนั้นยังมีลำธารน้อยใหญ่ แก่งต่าง ๆ บริเวณน้ำตกเป็นป่าทึบเนื่องจากไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า

อ้างอิง: http://www.hotelsthailand.com/northeast/buriram/places.cfm
http://www.hotelsthailand.com/northeast/loei/places.cfm

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อินเตอร์เน็ตคืออะไร

ประวัติความเป็นมา


อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา

ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น

ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด

ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)
ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา










การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น

การใช้อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น




ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมกันแพร่หลายและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆมากมายมหาศาล แหล่งข้อมูลข่าวสารความรู้และเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้สื่อสารกับผู้อื่นได้ ไม่ว่าจะอยู่ไกลกันเพียงใด ด้วยการส่งอีเมล์ ส่งการ์ดอวยพรแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พุดคุยสนทนา หรือสื่อสารผ่านภาพและเสียง เป็นต้น แหล่งรวมโปรแกรมใช้งานและเกมต่างๆ ซึ่งมีมากมายให้คุณได้ดาวน์โหลดมาใช้ แหล่งรวมความบันเทิงทุกรูปแบบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม แหล่งจำจ่ายใช้สอยสินค่าต่างๆ เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าโดยจัดตั้งร้านค้าเป็นเว็บเพจ ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกสินค้าต่างๆได้จากเว็บไซต์ที่ได้จัดเตรียมไว้ และสามารถสั่งซื้อสินค้าพร้อมทั้งจ่ายเงินทางเว็บไซต์ ท่านสามารถเรียนรู้เรื่อง





  • โครงสร้างสตักเจอร์ (Structure)



  • วิธีเรียกใช้งาน Internet Explorer ( IE )



  • ส่วนประกอบในหน้าจอของ Internet Explorer



  • แนะนำปุ่มต่างๆ



  • ท่องโลก www



  • ค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือ Search



  • การอัพโหลดข้อมูล



  • การรับ ส่งอีเมล์


  • การใช้อีเมล์


  • การสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต (Chat)


http://www.youtube.com/v/Hjc03nySrbw&hl=en_US&fs=1&"> name="allowFullScreen" value="true">http://www.youtube.com/v/Hjc03nySrbw&hl=en_US&fs=1&" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="480" height="385">